ด้านปรัชญา
ความเจริญด้านปรัชญาได้รับการยกย่องว่าเป็นความเจริญรสูงสุดของภูมิปัญญากรีกเช่นเดียวกับความเจริญด้านศิลปกรรม
นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ได้แก่ โซเครติส เพลโต และอริสโตเติล
โซเครติส (Socrates)
เกิดที่นครเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี
469-399 ก่อนคริสต์ศักราช
เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์
วิธีสอนของเขาซึ่งเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำ
แต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ
แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
แม้โซเครติสจะสั่งสอนลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่เคยมีผลงานเขียนของตนเอง
ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีของเขาที่รู้จักกันสืบมาจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูกศิษย์ของเขา
โซเครติส
เพลโต (Plato)
เป็นศิษย์เอกของโซเครติส
เกิดที่นครเอเธนส์ประมาณ 429
ปีก่อนคริสต์ศักราชและเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลกได้รับรู้
เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะแคเดอมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง
การศึกษา ระบบยุติธรรม
ผลงานที่โดนเด่นและทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ
สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก
เพลโต
อริสโตเติล (Aristotle)
เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์
เขาเป็นศิษย์ที่ชาญฉลาดของเพลโตและเคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย
อริสโตเติลเป็นทั้งปราชญ์และนักวิจัยที่มีความสนใจหลากหลาย
นอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆ อีกมาก เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์
ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ
ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics) ซึ่งเป็นการวิจัยรูปแบบการปกครองของนครรัฐต่างๆ
ถึง 150 แห่ง
อริสโตเติล
ด้านการศึกษา
การศึกษามีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวกรีก เพราะทำให้มีสถานะที่ดีในสังคม
ผู้ที่ได้รับการศึกษาสูงจะมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง
โดยเฉพาะชาวเอเธนส์เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยจะประสบความสำเร็จได้ถ้าหากผู้นำมีการศึกษา
ดังนั้นจึงจัดการศึกษาขั้นประถมให้แก่เด็กชายโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
วิชาที่สอนในระดับประถมศึกษา ได้แก่
ไวยากรณ์กรีก ซึ่งรวมถึงมหากาพย์ อีเลียด (Iliad) และ โอเดสซี (Odyssey)
ของโฮเมอร์ (Homer) ดนตรี และยิมนาสติก
หลักสูตรนี้เน้นการฝึกฝนความรู้ด้านภาษา อารมณ์ และความแข็งแกร่งของร่างกาย
ส่วนเด็กโตจะศึกษาวิชากวีนิพนธ์ การปกครอง จริยศาสตร์ ตรีโกณมิติ ดาราศาสตร์
วาทกรรม เมื่อสำเร็จหลักสูตรแล้ว
เยาวชนชายเหล่านี้ก็มีความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญาและร่างกายและพร้อมเป็นพลเมืองกรีกเมื่ออายุครบ
19 ปี
วิธีจัดหลักสูตรที่สร้างความพร้อมให้แก่พลเมืองทั้งด้านสติปัญญา
อารมณ์ และร่างกายนี้
เป็นแบบอย่างที่นักการศึกษาของโลกตะวันตกนำมาพัฒนาใช้จนถึงปัจจุบัน